หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ตราสารหนี้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในแวดวงการลงทุนคงจะคุ้นเคย แต่นักลงทุนหน้าใหม่ ยังคงอาจจะไม่เข้าใจว่า ตราสารหนี้แบบนี้ เป็นอย่างไรและมีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้จึงขอเอ่ยถึงข้อมูลส่วนนี้กันสักเล็กน้อย เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในเรื่องของคำว่า ตราสารหนี้ระยะสั้น และ ตราสารหนี้ระยะยาว

ตราสารหนี้ คืออะไร

ตราสารหนี้ ถ้าแปลเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆ ก็คือสัญญาเงินกู้ที่ผู้ออกตราสารอยู่ในฐานะลูกหนี้ เนื่องจากผู้ออกตราสารจะต้องนำเงินไปลงทุนเพื่อขยายกิจการเพิ่มเติม เช่น ไปสร้างโรงงาน ไปซื้อสินค้า โดยผู้ออกตราสารตกลงจะจ่ายดอกเบี้ย และคืนเงินต้นให้ตามระยะเวลาของตราสารหนี้นั้นๆ ซึ่งอาจมีทั้งประเภทที่จ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้น หรือจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยทุกปีแล้วค่อยคืนเงินต้นเมื่อตราสารครบกำหนด

ตราสารหนี้แตกต่างจากสัญญากู้ทั่วๆ ไปที่ใช้กันเพราะตราสารหนี้นั้น โดยสามารถจะเปลี่ยนมือจากเจ้าหนี้คนหนึ่ง ไปยังเจ้าหนี้คนอื่นได้ตลอดเวลา เช่นเดียวกับตั๋วเงิน เช็ค ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญา ใช้เงิน ใบประทวนสินค้า

โดยทั่วไปตราสารหนี้มักมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราเงินฝากทั่วๆ ไปของธนาคาร ณ เวลาที่ออกตราสารหนี้ เพื่อดึงดูดให้คนนำเงินมาให้กู้ หรือมาซื้อตราสารหนี้ที่ออก เมื่ออัตราดอกเบี้ยธนาคารปรับเปลี่ยนสูงขึ้นก็จะมีตราสารหนี้ใหม่ๆ ที่จะมีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยธนาคารออกมาเสมอ

ตราสารหนี้มี 2 ประเภท

การแบ่งตราสารหนี้ ยังมีการแบ่งเป็น ระยะสั้น ระยะกลาง หรือ ระยะยาว แตกต่างกันไป

แต่อย่างไรก็ตาม ตราสารหนี้ระยะสั้น จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า ตราสารหนี้ระยะยาว เพราะตราสารหนี้ระยะยาวนั้นอาจจะคาดการณ์ไม่ถึงว่าในระยะยาว กิจการของบริษัทดังกล่าวนั้นจะไม่ดี ตกต่ำหรือล้มละลาย ทั้งไม่สามารถนำเงินดังกล่าวออกมาได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เงินในอนาคตอันใกล้ เว้นแต่นำออกขายอย่างรีบๆ จะได้ราคาต่ำ ยิ่งบริษัทนั้นกิจการไม่ดียิ่งแทบขายไม่ได้ ผู้ที่ซื้อตราสารหนี้นั้นจะประสบความสำเร็จในการซื้อขายได้ ต้องมีความสามารถมีประสบการณ์ และมีความรอบรู้ และสามารถพยากรณ์แนวโน้มของดอกเบี้ย ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจและการเมืองได้เป็นอย่างดี