พระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489

อานันทมหิดล ตราไว้ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2489 เป็นปีที่ 13 ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบการค้าข้าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าว”(2) หมายความว่า ข้าวเปลือก, ข้าวกล้อง, ข้าวสาร,ข้าวเหนียวและรวมตลอดถึงปลายข้าว, รำ และสิ่งใด ๆ ที่แปรสภาพมาจากข้าว “การค้าข้าว”(3) หมายความว่า การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนกรรมสิทธิ์ข้าว รวมตลอดถึงการสีข้าว ทั้งนี้นอกจากสำหรับบริโภคในครอบครัว “ผู้ค้าข้าว” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า […]

พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2542 เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันการผูกขาดซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “ธุรกิจ” หมายความว่า กิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม […]

พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิก (1) พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 (2) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2510 (3) พระราชบัญญัติการขนส่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518 บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ […]

พระราชบัญญัติ การเกณฑ์ช่วยราชการทหาร พ.ศ. 2530

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เป็นปีที่ 42 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการเกณฑ์พลเมืองอุดหนุนราชการทหารในเวลาปกติหรือเวลาสงคราม และในเวลาที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการเกณฑ์ช่วยราชการทหาร พ.ศ. 2530” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติเกณฑ์พลเมืองอุดหนุนราชการทหารในเวลาปกติหรือเวลาสงคราม และในเวลาที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2464 บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับอื่นที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “การเกณฑ์ในเวลาปกติ” หมายความว่า การเกณฑ์ช่วยราชการทหารสำหรับหน่วยทหารที่ออกฝึกราชการสนามเฉพาะเมื่อไม่สามารถหรือไม่มีเวลาพอที่จะจัดหาทรัพย์สินเพื่อใช้ในราชการทหารได้ตามปกติ “การเกณฑ์ในเวลาไม่ปกติ” หมายความว่า การเกณฑ์ช่วยราชการทหารในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการรบหรือการสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก “ใบเรียกเกณฑ์” หมายความว่า หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารผู้มีอำนาจตามมาตรา […]

49. พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เป็นปีที่ 40 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิก (1) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2507 (2) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 (3) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518 (4) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. […]

พระราชบัญญัติ การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นปีที่ 30 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตาม งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายในประเภทดังต่อไปนี้ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (1) ค่าเช่าซื้อบ้านข้าราชการ (2) ค่าเช่าบ้านข้าราชการหรือค่าที่อยู่อาศัยของข้าราชการ (3) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (4) เบี้ยประชุมกรรมการ (5) เงินเดือนระหว่างลาของข้าราชการ (6) เงินสวัสดิการจากทางราชการ พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งให้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่าย อัตราการจ่าย ของ ผู้มีสิทธิได้รับเงินนั้นและหลักเกณฑ์อื่นตามที่เห็นสมควร มาตรา 4 […]

พระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นปีที่ 46 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกักเรือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534 มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ เรือ หมายความว่า เรือเดินทะเลที่ใช้ในการขนส่งของหรือคนโดยสารทางทะเลระหว่างประเทศ สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ หมายความว่า สิทธิเรียกร้องอันเกิดจาก (ก) ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุมาจากเรือหรือการดำเนินงานของเรือ (ข) การช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล (ค) สัญญาเกี่ยวกับการใช้ เช่า เช่าซื้อ หรือยืมเรือ การให้บริการบรรทุก หรือสัญญาอื่นทำนองเดียวกัน (ง) […]

พระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. 2499

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 เป็นปีที่ 11 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้บาดเจ็บ และป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และแห่งอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพ ขณะอยู่ในทะเลซึ่งบาดเจ็บ ป่วยไข้ และเรือต้องอับปาง มีสภาวะดีขึ้น ลงวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และโดยที่เป็นการสมควร ที่จะตรากฎหมายเพื่ออนุวัตตามบทแห่งอนุสัญญาดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. 2499” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป(1) มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกาชาด พุทธศักราช […]

พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2507 เป็นปีที่ 19 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกักพืช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันโรคและศัตรูพืช พ.ศ. 2495 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “พืช” หมายความว่า พรรณพืชทุกชนิดและส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช เช่น ต้น ตอ หน่อ กิ่ง ใบ ราก หัว ดอก ลูก เมล็ดไม่ว่าที่ยังใช้ทำพันธุ์ได้หรือตายแล้ว “ศัตรูพืช” […]

พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และจะใช้บังคับในท้องที่ใด ให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา 3 เมื่อได ้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับในท้องที่ใด บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่งมีข้อความแย้งหรือขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ มิให้ใช้บังคับในท้องที่นั้น หมวด 1 การจัดตั้งกองอาสารักษาดินแดน มาตรา 4 ให้จัดตั้งกองอาสารักษาดินแดนเป็นองค์การขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า “กองอาสารักษาดินแดน” มาตรา 5 […]