พระราชบัญญัติ การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2522
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2522 มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พุทธศักราช 2476 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ หน่วยรับตรวจ หมายความว่า (1) กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง หรือกรม (2) หน่วยงานของราชการส่วนภูมิภาค (3) หน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น (4) […]
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิก (1) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พุทธศักราช 2480 (2) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2490 (3) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2492 และ (4) บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ […]
พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456
มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า ได้ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยที่ได้ตราขึ้นไว้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน รัตนโกสินทร ศก 124 นั้น ยังมีบกพร่องอยู่หลายประการ สมควรจะเปลี่ยนแก้ให้สมกับกาลสมัย เพราะฉะนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ความเบื้องต้น และอธิบายบางคำที่ใช้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 1(1) พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 มาตรา 2 (2) ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พระพุทธศักราช 2456 เป็นต้นไป มาตรา 3(3) ในพระราชบัญญัตินี้ “เรือ” หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะใช้เพื่อบรรทุกลำเลียง โดยสาร ลาก จูง ดัน ยก ขุดหรือลอก รวมทั้งยานพาหนะอย่างอื่นที่สามารถใช้ในน้ำได้ ทำนองเดียวกัน “เรือกำปั่น” หมายความว่า เรือที่เดินด้วยเครื่องจักรกลหรือด้วยใบและไม่ได้ใช้กรรเชียง แจวหรือพาย “เรือกำปั่นไฟ” หรือ “เรือกลไฟ” หมายความว่า […]
พระราชบัญญัติการดำรงตำแหน่งในทางการเมืองของข้าราชการกรรมการ พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
–––––––––– ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการดำรงตำแหน่งในทางการเมืองของข้าราชการ กรรมการ พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานรัฐวิสาหกิจ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการดำรงตำแหน่งในทางการเมืองของข้าราชการ กรรมการ พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2522 มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 20 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ ข้าราชการ หมายความว่า ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนและกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ […]
พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2517
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2517 เป็นปีที่ 29 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการฌาปนกิจสงเคราะห์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2517” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 287 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “การฌาปนกิจสงเคราะห์” หมายความว่า กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้ากัน เพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ตกลง เข้ากันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรเพื่อแบ่งปันกัน “สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์” หมายความว่า สมาคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการการฌาปนกิจสงเคราะห์ […]
พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2542 เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาห-กรรม พ.ศ. 2542” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “การเช่า” หมายความว่า การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่กำหนดเวลาเช่าไว้เกินสามสิบปีแต่ไม่เกินห้าสิบปี “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมที่ดิน มาตรา 4 การเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว ผู้เช่าและผู้ให้เช่าอาจตกลงกันต่อระยะเวลาการเช่าออกไปอีกได้มีกำหนดไม่เกินห้าสิบปีนับแต่วันที่ตกลงกันและต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ มาตรา 5 ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น การเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การจดทะเบียนการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ให้ทำการเช่า และการใช้หรือการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้อสังหาริมทรัพย์ตามที่เช่า […]
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2524 เป็นปีที่ 36 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเช่านา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524” มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมที่รัฐ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและสหกรณ์นิคมเป็นผู้ให้เช่า มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้ “เกษตรกรรม” หมายความว่า การทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “ผู้เช่า” หมายความว่า ผู้เช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ “ผู้ให้เช่า” หมายความว่า ผู้ที่ให้เช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ […]
พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480 และวันที่ 16 ธันวาคม พุทธศักราช 2484) อาทิตย์ ทิพอาภา ปรีดี พนมยงค์ ตราไว้ ณ วันที่ 1 กันยายน พุทธศักราช 2485 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรส่งเสริมและควบคุมการชลประทานหลวงให้ดำเนินไปด้วยดี จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ ข้อความเบื้องต้น มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485” มาตรา 2(1)ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ห้ามมิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.ศ.121 มาใช้สำหรับทางน้ำชลประทานตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “การชลประทาน”(2) […]
พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พุทธศักราช 2482
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480) อาทิตย์ทิพอาภา พล.อ.เจ้าพระยา พิชเยนทรโยธิน ตราไว้ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พุทธศักราช 2482 เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรจัดการควบคุมการชลประทานราษฎร์ เพื่อคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของราษฎร จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พุทธศักราช 2482” มาตรา 2(1) ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการเหมืองฝายและพนังพุทธศักราช 2477 พระราชบัญญัติควบคุมการเหมืองฝายและพนังแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2478 และพระราชบัญญัติควบคุมการเหมืองฝายและพนัง (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2480 กับบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นๆ ซึ่งบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งมีข้อความขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “การชลประทาน” […]
พระราชบัญญัติ การจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นปีที่ 49 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537 มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว มิให้นำมาตรา 36 และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 มาใช้บังคับแก่เรือที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ เรือ หมายความว่า เรือขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไปที่เดินด้วยเครื่องจักรกลไม่ว่าจะใช้กำลังอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และเป็นเรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเลตามกฎข้อบังคับการตรวจเรือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย นายเรือ หมายความว่า ผู้ควบคุมเรือ คนประจำเรือ หมายความว่า คนที่มีหน้าที่ทำการประจำอยู่ในเรือ ลูกเรือ […]