พระราชบัญญัติ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542 เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ข้าราชการ” ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ” ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้” […]

พระราชบัญญัติ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2539 เป็นปีที่ 51 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราช พ.ศ. 2539 มาตรา 2 (1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด 3 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ ข้าราชการ หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ และข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร กองทุน หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สมาชิก หมายความว่า สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินเดือน หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา […]

พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457

พระราชปรารภ มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้า ฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่ากฎอัยการศึกซึ่งได้ตราเป็นพระราชบัญญัติไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2450 (ร.ศ. 126) นั้น อำนาจเจ้าพนักงานฝ่ายทหารที่จะกระทำการใด ๆ ยังหาตรงกับระเบียบพิชัยสงคราม อันจะได้รักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอก หรือ เกิดขึ้นภายในได้โดยสะดวกไม่ บัดนี้ สมควรแก้ไขกฎอัยการศึกและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับกาลสมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก พ.ศ. 2450 (ร.ศ. 126) นั้นเสีย และให้ใช้กฎอัยการศึกซึ่งได้ตราเป็นพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ดังต่อไปนี้ นามพระราชบัญญัติ มาตรา 1(1) พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457” ใช้พระราชบัญญัติที่ใดเมื่อใดต้องประกาศ มาตรา 2(2) เมื่อเวลามีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอกหรือภายในราชอาณาจักรแล้ว จะได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกทุกมาตราหรือแต่บางมาตราหรือข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตรา ตลอดจนการกำหนดเงื่อนไขแห่งการใช้บทบัญญัตินั้นบังคับในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรหรือตลอดทั่วราชอาณาจักร และถ้าได้ประกาศใช้เมื่อใด หรือ ณ ที่ใดแล้ว บรรดาข้อความในพระราชบัญญัติหรือบทกฎหมายใด ๆ ซึ่งขัดกับความของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับต้องระงับ และใช้บทบัญญัติของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับนั้นแทน ลักษณะประกาศ มาตรา 3 ถ้าไม่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วพระราชอาณาจักรในประกาศนั้นจะได้แสดงให้ปรากฏว่า มณฑลใด […]

กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล 2467 พรรษา ปัตยุบันสมัย พฤศจิกายนมาส ทสมสุรทิน จันทวาร กาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงศ อติศัยพงศวิมลรัตนวรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนารถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสูรสันตติวงศวิศิษฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหารอติเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค มหาชโนตตะมางคประณต บาทบงกชยุคลประสิทธิสรรพศุภผล อุดมบรมสุขุมาลย ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษบุริมศักดิสมญาเทพทวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ เสนางคนิกรรัตน อัศวโกศลประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินคร วรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินทร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดม บรมราชสมบัติ นพปฎลเสวตรฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณ มหาบรม ราชาภิเศกาภิสิตสรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวไศย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ อดุลยศักดิอรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤไทย อโนปไมยบุญการ สกลไพศาลมหา รัษฎาธิเบนทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร […]

กฎบัตรสหประชาชาติ

เราบรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเจตจำนงที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณนามาสู่มนุษยชาติในชั่วชีวิตของเราถึงสองครั้งแล้ว และ ที่จะยืนยัน ความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนอันเป็นหลักมูล ในเกียรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษยบุคคลในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาติใหญ่น้อยและที่จะสถาปนาภาวการณ์อันจะธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และความเคารพต่อ ข้อผูกพันทั้งหลายอันเกิดจากสนธิสัญญาและที่มาอื่น ๆ ของกฎหมายระหว่างประเทศและที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคม และมาตรฐานแห่งชีวิตอันดียิ่งขึ้นในอิสภาพที่กว้างขวางยิ่งขึ้น และเพื่อจุดมุ่งหมายปลายทางเหล่านี้ ที่จะปฏิบัติการผ่อนสั้นผ่อนยาว และดำรงชัวิตอยู่ด้วยกันในสันติภาพ เยี่ยงเพื่อนบ้านที่ดี และที่จะรวมกำลังของเราเพื่อธำรงไว้ ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และที่จะให้ความแน่นนอนใจว่าจะไม่มีการใช้กำลังอาวุธ นอกจากเพื่อ ประโยน์ร่วมกัน โดยการยอมรับหลักการและวิธี การที่ตั้งขึ้น และที่จะใช้จักรกลระหว่างประเทศ สำหรับส่งเสริมความรุดหน้าในทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนทั้งปวง จึงได้ลงมติที่จะผสมผสามความพยายามของเราในอันที่จะให้สำเร็จผลตามความมุ่งหมายเหล่านี้ โดยนัยนี้ รัฐบาลของเราโดยลำดับจึงได้ตกลงกันตามกฎบัตรสหประชาชาติฉบับปัจจุบัน โดยทางผู้แทนที่มาร่วมชุนุมในนครซานฟรานซิสโก ซึ่งได้ แสดงหนังสือมอบอำนาจเต็มของตนอันได้ตรวจแล้วว่าเป็นไปตามแบบที่ดีและถูกต้อง และ ณ ที่นี้จึงสถาปนาองค์การระหว่างประเทศขึ้น เรียกว่า สหประชาชาติ หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการ ข้อ 1 ความมุ่งประสงค์ของสหประชาชาติ คือ 1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และเพื่อจุดหมายปลายทางนั้น จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันอันมีผลจริงจังเพื่อการป้องกันและการขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ และเพื่อปราบปรามการกระทำการรุกรานหรือการละเม ิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ และนำมาซึ่งการแก้ไข หรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศอันอาจนำไปสู่การละเมิดสันติภาพ โดยสันติวิธีและสอดคล้องกับหลักการแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ 2. […]

แบ่งขายที่งอกจากที่ดินมีโฉนด

เมื่อที่งอกอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดที่งอกย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงดังกล่าวและเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. โดยหลักส่วนควบด้วยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องรังวัดขึ้นทะเบียนเป็นหลักฐานว่าเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเดิมเสียก่อนแล้วที่งอกจึงจะเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ การที่ ส. ขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ถือว่าได้แบ่งที่ดินมีโฉนดขายแก่โจทก์หาใช่เป็นการขายที่ดินมือเปล่าแต่อย่างใดไม่ การซื้อขายที่ดินมีกรรมสิทธิ์จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์กับ ส. เพียงแต่ทำสัญญาซื้อขายกันเองไม่ได้ทำตามแบบจึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามออกไปจากที่ดินพิพาท (ฎ 1860/2539)

ศาลพิพากษาตามยอมให้เช่าเกิน 3 ปี ไม่ต้องจดทะเบียน

โจทก์จำเลยมีคดีพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิการเช่าที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทมีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษานั้นมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมระบุว่าจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ในที่เช่าต่อไปจนครบ 10 ปี จำเลยย่อมได้สิทธิมาโดยผลแห่งคำพิพากษานั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้มีผลบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษาที่ผูกพันโจทก์อยู่ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเช่าที่มีผลบังคับกันได้เพียงสามปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 (ฎ 2127/2527)

ติดสินบนเจ้าพนักงาน กับความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานรับสินบน

นายรวยนำเอกสารปลอมพร้อมด้วยเงิน 5,000 บาท มอบให้นายจน ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานทำหน้าที่ช่วยเสมียนทะเบียนยานพาหนะ เพื่อให้จัดการจดทะเบียนรถยนต์ให้ นายจนรับเอกสารปลอมกับเงินนั้นไว้ โดยตกลงรับดำเนินการให้ นายรวยมีความผิดฐานให้เงินเจ้าพนักงานเพื่อให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ และนายจนมีความผิดฐานรับเงินสำหรับตนเองเพื่อกระทำการโดยมิชอบด้วยหน้าที่อยู่แล้ว นายรวยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของนายจน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อีก (ฎ 435/2520)

ผู้ต้องหาขัดขืนหมายเรียกของพนักงานสอบสวน ที่ให้มาเพื่อให้การ

เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่านายแดงบุกรุกที่ดิน นายแดงย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/4 ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ และมาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การ ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่า เจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่ (เทียบ ฎ 1341/2509 ป.)

สายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นทรัพย์ที่เป็นอันตรายโดยสภาพ

สายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่และหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 แม้จำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อทำให้เกิดไฟไหม้ จำเลยก็ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์อันเกิดจากสายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าของจำเลยเช่นนั้น (ฎ 1469/2537)